ดอกทิสเซิลและดอกกุหลาบ ของ มาร์กาเร็ต ทิวดอร์

เจ้าหญิงมาร์กาเร็ตและเจ้าชายเฮนรี (พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ) รายละเอียดจากภาพการเข้าเฝ้าพระโอรสธิดาในพระเจ้าเฮนรีที่ 7 ของอีราสมุสที่พระราชวังอีแทมในปีค.ศ. 1499 วาดโดยแฟรงก์ คาโดแกน คาวเปอร์ในราวปีค.ศ. 1910

เจ้าหญิงมาร์กาเร็ตทรงร่วมพิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชนที่โบสภ์เซนต์มาร์กาเร้ต เวสต์มินสเตอร์ เจ้าหญิงทรงได้รับการตั้งพระนามตามมาร์กาเรต โบฟอร์ต เคาน์เตสแห่งริชมอนด์และดาร์บี พระอัยยิกาฝ่ายพระราชบิดา[1]

เหล่าบุตรสาวนั้นเป็นสินทรัพย์ทางการเมืองที่มีความสำคัญในโลกของวงการทูตและแต่งงานเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรี แม้กระทั่งก่อนวันครบรอบวันคล้ายวันพระราชสมภพ 6 ปีของเจ้าหญิง พระเจ้าเฮนรีที่ 7 ทรงดำริถึงการอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าหญิงมาร์กาเร็ตกับพระเจ้าเจมส์ที่ 4 เพื่อเป็นหนทางไม่ให้พระมหากษัตริย์สกอตไปสนับสนุนเพอร์คิน วอร์เบ็ค ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์อังกฤษ นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มว่าพระเจ้าเฮนรีที่ 7 ทรงเชื่อว่าการเป็นพันธมิตรในการอภิเษกสมรสดังกล่าวจะเป็นก้าวสำคัญที่นำไปสู่การรวมราชบัลลังก์อังกฤษและสกอตแลนด์เข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่พระราชโอรสของพระองค์ ซึ่งก้คือพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ในอนาคตทรงพยายามมาตลอดรัชกาล

ในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1497 ราชทูตสเปนประจำราชสำนักพระเจ้าเจมส์ที่ 4 ซึ่งก็คือ เปดรู เดอ อายาลา ได้เป็นตัวแทนลงนามสนธิสัญญาสงบศึกระยะเวลายาวนานกับอังกฤษ และตอนนี้การอภิเษกสมรสจึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นที่สุด พระเจ้าเจมส์ทรงมีพระชนมายุยี่สิบปลายๆและยังไม่ทรงอภิเษกสมรส[2] โปลีดอร์ เวอร์จิล นักประวัติศาสตร์ชาวอิตาลี กล่าวว่าสมาชิกสภาอังกฤษบางคนปฏิเสธการอภิเษกสมรสครั้งนี้ และกล่าวว่าการทำเช่นนี้จะนำพาให้ราชวงศ์สจวตเข้ามาสืบราชสันตติวงศ์ในราชบัลลังก์อังกฤษได้โดยตรง พระเจ้าเฮนรีผู้เจ้าเล่ห์และปราดเปรื่องทรงตอบว่า:

"แล้วยังไงล่ะ อะไรซักอย่างมันควรจะเกิดขึ้น (และพระเจ้าจะทรงปัดเป่าลางนี้ออกไป) ข้ามองว่าราชอาณาจักรของเราจะไม่เสียหายอะไร เพราะอังกฤษจะไม่ถูกสกอตแลนด์ดูดกลืนไป แต่สกอตแลนด์จะถูกอังกฤษดูดกลืนมากกว่า โดยเป็นพวกหัวสูงกันทั้งเกาะ เนื่องจากที่นั่นมักจะมีความรุ่งโรจน์และเกียรติยศน้อยนิด ห่างไกลจากความยิ่งใหญ่ เฉกเช่นเดียวกับที่นอร์ม็องดีครั้งหนึ่งเคยตกอยู่ภายใต้การปกครองและอำนาจของบรรพบุรุษชาวอังกฤษของเรา"[3]

ในวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1502 สกอตแลนด์และอังกฤษได้ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพถาวร เป็นสนธิสัญญาสันติภาพฉบับแรกระหว่างสองราชอาณาจักรในรอบ 170 ปี สนธิสัญญาอภิเษกสมรสถูกรวมไว้ในวันเดียวกันด้วยและเป็นตัวรับประกันสันติภาพ

การอภิเษกสมรสโดยฉันทะและการเดินทางของพระราชินีพระองค์ใหม่

พระนางมาร์กาเร็ตอภิเษกสมรสโดยฉันทะในวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1503 ที่พระราชวังริชมอนด์ แพทริก เอิร์ลแห่งบอธเวลเป็นตัวแทนของกษัตริย์สกอตและสวมชุดผ้าทองในพิธีที่จัดขึ้นในห้องชุดของสมเด็จพระราชินี เขามาพร้อมกับอาร์กบิชอปแห่งกลาสโกว์และแอนดรู ฟอร์แมน พระอธิการแห่งมอเรย์ จอห์น ยัง หนึ่งในคณะซอเมอร์เซ็ตเฮรัลด์ได้รายงานว่าพิธีนี้เป็น "การต่อสู้ที่น่าจดจำ" รางวัลได้ถูกจัดมอบในเช้าวันถัดมาและงานประลองก็ยังถูกจัดต่อเนื่อง[4] ตอนนี้เจ้าหญิงมาร์กาเร็ตทรงกลายเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งชาวสกอต

สมเด็จพระราชินีพระองค์ใหม่ทรงมีตู้ฉลองพระองค์ขนาดใหญ่ และผ้าม่านคลุมเตียงสีแดงเข้มของพระนางได้จัดทำโดยไหมของอิตาเลียนซึ่งปักลายกุหลาบแดงแลงคาสเตอร์ เสื้อผ้าเหล่านี้ก็ได้ทำให้แก่พระสหายของพระนาง เลดีแคทเทอรีน กอร์ดอน ภรรยาม่ายของเพอร์คิน วอร์เบ็ค[5] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1503 พระเจ้มเจมส์ที่ 4 ทรงยืนยันสิทธิในการครอบครองที่ดินและพระตำหนักของพระนางที่รวมทั้งปราสาทเมิธเวน, ปราสาทสเตอร์ลิง, ปราสาทดัน, พระราชวังลินลิธโกว์และปราสาทเนวาร์กในป่าเอ็ททริก ที่มีรายได้เช่นเดียวกับระบบเอิร์ลและระบบลอร์ดเจ้าที่ดิน[6]

ในช่วงหลังค.ศ. 1503 สมเด็จพระราชินีมาร์กาเร็ตได้เสด็จสกอตแลนด์ เส้นางเสด็จของพระนางเป็นการเดินทางไปสู่ภาคเหนือครั้งใหญ่ พระนางออกจากพระราชวังริชมอนด์ในวันที่ 27 มิถุนายน พร้อมกับพระเจ้าเฮนรีที่ 7 และเสด็จไปยังคอลลีเวสตันเป็นแห่งแรก ที่ยอร์กได้มีแผ่นป้ายเหล็กเป็นที่รำลึกถึงจุดที่สมเด็จพระราชินีแห่งสกอตทรงเข้ามาในประตูเมือง หลังจากข้ามพรมแดนที่เบริก-อะพอน-ทวีดในวันี่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1503 สมเด็จพระราชินีมาร์กาเร็ตทรงพบกับราชสำนักสกอตที่แลมเบอร์ตัน ที่พระราชวังเดลคีธ พระเจ้าเจมส์ทรงจุมพิตราตรีสวัสดิ์พระนาง พระองค์เสด็จมาปลอบพระทัยพระนางอีกครั้งในวันที่ 4 สิงหาคม หลังจากที่เกิดเหตุเพลิงไหม้คอกม้าซึ่งทำให้ม้าที่พระนางทรงโปรดตาย เกียร์ทรงม้าของพระนางถูกเผาและเครื่องทรงของม้าหรือผ้าถักทองกับเบาะกำมะหยี่เป็นค่าใช้จ่ายจำนวน 127 ปอนด์[7] ในวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1503 พระนางมาร์กาเร็ตต้องเสด็จจากเดลคีธไปยังเอดินเบอระด้วยเกี้ยว

ที่ทุ่งหญ้าระยะหนึ่งไมล์จากเอดินเบอระ มีพลับพลาที่ซึ่งเซอร์แพทริก ฮามิลตันและแพทริก ซินแคลร์แสดงละครและต่อสู้ด้วยบทบาทของอัศวินที่ปกป้องผู้หญิงของพวกเขา ในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1503 พระราชพิธีอภิเษกสมรสได้ถูกจัดขึ้นที่โบสถ์โฮลีรูด พิธีกรรมได้ดำเนินการโดยอาร์กบิชอปแห่งกลาสโกว์และอาร์กบิชอปแห่งยอร์ก สองวันต่อมาในวันนักบุญลอว์เรนซ์ สมเด็จพระราชินีมาร์กาเร็ตทรงเข้าร่วมพิธีที่มหาวิหารเซนต์ไจส์ ในหมู่โบสถ์เคิร์ก เป็นครั้งแรกที่เสด็จออกสาธารณะนับตั้งแต่ทรงเป็นสมเด็จพระราชินี[8] รายละเอียดในเรื่องการเสกสมรสโดยฉันทะ การเดินทาง การมาถึงและการรับเสด็จในเอดินเบอระได้ถูกบันทึกโดยจอห์น ยังแห่งคณะซอเมอร์เซ็ตเฮรัลด์[9]

บทกวีและบทเพลงสำหรับพระนางมาร์กาเร็ต

พระเจ้าเจมส์ที่ 4 และสมเด็จพระราชินีมาร์กาเร็ต

การเสด็จมาถึงของสมเด็จพระราชินีได้มีการเฉลิมพระเกียรติโดยบทกวีของวิลเลียม ดันบาร์ ซึ่งรวมถึงบทกวี The Thrissil and the Rois (ดอกทิสเซิลและดอกกุหลาบ), บทกวี Gladethe, บทกวี thoue Queyne of Scottis Regioun และ บทเพลง Now Fayre, Fayrest of Every Fayre บทกวีอื่นๆอย่างเช่น Blyth Aberdeane ที่แต่งขึ้นเพื่อต้อนรับสมเด็จพระราชินีสู่เมืองแอเบอร์ดีน ดันบาร์อยู่ในลอนดอนในช่วงที่มีการเจรจาสนธิสัญญา[10] บทกวี Thrissil and the Rois ของดันบาร์ เป็นเรื่องราวของนกป่าที่ขับกล่อมดอกกุหลาบที่ประสานกันระหว่างแลงคัสเตอร์และยอร์ก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของราชวงศ์ของพระนางมาร์กาเร็ต บทกวีมีดังนี้

The merle scho sang, 'Haill, Roiss of most delyt,
Haill, of all flouris quene and soverane,’
The lark scho song, 'Haill, Rois, both reid and quhyt,
Most plesand flour, of michty cullouris twane;’
The nychtingaill song, 'Haill, naturis suffragene,
In bewty, nurtour and every nobilness,
In riche array, renown, and gentilness.'[11]

'merle' = นกเดินดงสีดำ หรือ นกแบล็กเบิร์ด (Blackbird); 'scho' = หล่อน, เขา (ผู้หญิง); 'quhyt' = สีขาว; 'suffragane' = ตัวแทน

ในบทกวี Gladethe, บทกวี thoue Queyne พระนางมาร์กาเร็ตทรงถูกเปรียบดั่งไข่มุกที่มีค่ายิ่งกว่าหินล้ำค่าใดๆ สวยสดใสยิ่งกว่าเบริล มีค่ายิ่งกว่าเพชร สวยยิ่งกว่าไพลิน น่ารักยิ่งกว่าสีเขียวมรกต และวิเศษยิ่งกว่าทับทิมที่โด่งดัง บทกวีมีดังนี้

O precius Margreit, plesand, cleir and quhit,
Mor blith and bricht na is the beriale scheme,
Moir deir na is the diamaunt of delit,
Mor semly na is the sapheir one to seyne,
Mor gudely eik na is the emerant greyne,
Moir riche na is the ruby of renoune,
Fair gem of joy, Margreit, of the I meyne:
Gladethe, thoue queyne of Scottis regioun.[12]

'Gladethe' = น่าปลาบปลื้ม! 'na' คือ จากนั้น; 'beriale' = เบริล; 'eik' = เช่นเดียวกับ; 'of the I meyne'= ฝ่าพระบาทที่ข้าหมายถึง: ข้าพูดถึงพระองค์

บทเพลง Now Fayre ได้รวมท่อนเพลงเกี่ยวกับดอกกุหลาบ คอรัสเริ่มต้นที่ 'ยินดีต้อนรับดอกกุหลาบทั้งสีแดงและสีขาว' บทเพลงเทิดพระเกียรติพระนางมาร์กาเร็ตเมื่อทรงพระเยาว์ (ขณะที่มีพระชนมายุ 13 พรรษา) และพระสิริโฉมของพระนาง บทเพลงมีดังนี้

Sweet lusty lusum lady clere,
Most myghty kyngis dochter dere,
Borne of a princess most serene,
Welcum of Scotlond to be quene![13]

'lusum'= งดงาม; 'clere'= สว่างไสว, สดใส;

พระโอรสธิดาในพระเจ้าเจมส์และพระนางมาร์กาเร็ต

มีการรายงานว่าการอภิเษกสมรสระหว่างพระเจ้าเจมส์และพระนางมาร์กาเร็ตเป็นความเสน่หาซึ่งกันและกัน ทั้งสองพระองค์มีพระโอรสธิดารวม 6 พระองค์ แต่มีเพียงพระองค์เดียวเท่านั้นที่ทรงดำรงพระชนม์ชีพมาได้[14]

 พระนามประสูติสิ้นพระชนม์คู่สมรส และพระโอรส-ธิดา
เจมส์ ดยุกแห่งโรเทอซี21 กุมภาพันธ์
ค.ศ. 1507
27 กุมภาพันธ์
ค.ศ. 1508
สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์
เจ้าหญิง ไม่ปรากฏพระนาม15 กรกฎาคม
ค.ศ. 1508
15 กรกฎาคม
ค.ศ. 1508
สิ้นพระชนม์ในเวลาไม่นานหลังประสูติ
อาเทอร์ สจวต ดยุกแห่งโรเทอซี20 ตุลาคม
ค.ศ. 1509
14 กรกฎาคม
ค.ศ. 1510
สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์
พระเจ้าเจมส์ที่ 5 แห่งสกอตแลนด์10 เมษายน
ค.ศ. 1512
14 ธันวาคม
ค.ศ. 1542
อภิเษกสมรสครั้งที่ 1 วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1537 กับ
เจ้าหญิงเมดเดลีนแห่งฝรั่งเศส
ไม่มีพระโอรสธิดา

อภิเษกสมรสครั้งที่ 2 วันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1538 กับ
แมรีแห่งแห่งกีส
มีพระโอรสธิดา 3 พระองค์ ได้แก่
เจมส์ ดยุกแห่งโรเทอซี
อาเทอร์ หรือ โรเบิร์ต สจวต ดยุกแห่งออลบานี
สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์

ทรงมีพระโอรสธิดานอกสมรสอีกหลายพระองค์
เจ้าหญิง ไม่ปรากฏพระนามพฤศจิกายน
ค.ศ. 1512
พฤศจิกายน
ค.ศ. 1512
สิ้นพระชนม์ในเวลาไม่นานหลังประสูติ
อเล็กซานเดอร์ สจวต ดยุกแห่งรอส30 เมษายน
ค.ศ. 1514
18 ธันวาคม
ค.ศ. 1515
สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์

ใกล้เคียง

มาร์กาเร็ต ทิวดอร์ มาร์กาเร็ต มีด มาร์กาเร็ต ลิน เซเวียร์ มาร์กาเร็ตแห่งยอร์ก ดัชเชสแห่งบูร์กอญ มาร์กาเร็ต มิตเชลล์ มาร์กาเร็ต ท็อดด์ มาร์กาเร็ต แฮมิลตัน (วิศวกรซอฟต์แวร์) มาร์กาเร็ต เทตเชอร์ มาร์กาเร็ต โรดส์ มาร์กาเร็ต บูร์ก ไวท์

แหล่งที่มา

WikiPedia: มาร์กาเร็ต ทิวดอร์ http://www.tudorplace.com.ar/Bios/MargaretTudor(Qu... http://www.guide2womenleaders.com/womeninpower/Wom... http://www.poemhunter.com/poem/to-the-city-of-lond... http://www.scottsboropower.com/~piercedc/lord.html http://www.thepeerage.com http://www.thepeerage.com/p10143.htm#i101421 http://englishhistory.net/tudor/genealogy.html http://www.archive.org/details/cu31924091754410 http://tudorhistory.org/people/margaret/gallery.ht... http://www.philological.bham.ac.uk/polverg/